จากแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐ – ๒๕๓๔) รัฐได้กำหนดนโยบายไว้ชัดเจนว่า “เร่งขยายมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรให้สูงขึ้นทั้งให้เกิดความเสมอภาคในโอกาสการเข้ารับการศึกษา
ในระดับมัธยมศึกษาและเน้นการขยายการบริการมัธยมศึกษาในพื้นที่ที่มีอัตราการเรียนต่อต่าเป็นพิเศษ” (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๒๙, หน้า ๔๒)
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๓๙) ยังได้ระบุนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาไว้ว่า “เร่งปรับปรุงการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อให้เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานและขยายการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพื่อให้ผู้จบชั้นประถมศึกษาได้เข้าเรียนมากขึ้น” (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๓๓, หน้า ๕๙)
อำเภอแกลงเสนอขอเรื่อง การจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๓๕ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง โดยใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ตามประวัติผู้ที่ริเริ่มรวบรวมคือผู้ใหญ่พรม ประมวล ต่อมาคือกำนันสันต์ เที่ยงชัด ตามหนังสือสำคัญสาหรับที่หลวง เลขที่ ๗๑๐๗ ตั้งอยู่หมู่บ้านเขาชากกรูด หมู่ที่ ๔ ตาบลห้วยยาง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ตามที่สภาตาบลห้วยยางภายใต้การนำของนายอำไพ ประมวล กำนันตำบลห้วยยาง นายทวีป ปฏิบัติ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔ พร้อมกลุ่มแม่บ้านหมู่ที่ ๔ และผู้นำท้องที่ – ชุมชนทั้ง ๗ หมู่บ้านของตำบลห้วยยาง เสนอขอจัดตั้งโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ผ่านทางกระทรวงมหาดไทย (ที่ว่าการอำเภอแกลง, ที่ รย ๐๒๓๐/ ๘๒๑๗, ลว ๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๔) ภายหลังจึงอนุมัติให้ใช้ที่ดินสร้างสาขาโรงเรียนห้วยยางพิทยาคม
สมัยนายจีรพัฒน์ กล่อมสกุล เป็นนายอำเภอแกลง เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕ แบ่งแยกให้จานวน ๓๕ ไร่ (ทะเบียนพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้, โรงเรียนห้วยยางศึกษา)
กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติให้โรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” สานักงานสามัญศึกษาจังหวัดระยอง ดำเนินการจัดสาขาโรงเรียนห้วยยางพิทยาคม ในปีการศึกษา ๒๕๓๕ โดยให้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เป็นสหศึกษา (กรมสามัญศึกษา, ที่ ศธ ๐๘๐๖/ ๗๔๑๔, ลว ๑๙ มีนาคม ๒๕๓๕) โรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” มีคาสั่งแต่งตั้งผู้ดูแลสาขาแทนผู้อานวยการ คือ ๒. นายสุพจน์ เบญจามฤต ตำแหน่งอาจารย์ ดูแลโรงเรียนห้วยยางพิทยาคม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ (คำสั่งโรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร”, ที่ ๒๓/ ๒๕๓๕) ได้ประสานขอความช่วยเหลือจากบุคลากรในโรงเรียน ผู้นำท้องที่และชุมชนดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดภาคเรียนปีการศึกษา ๒๕๓๕ ดังนี้
๑. ปรับปรุงพื้นที่สวนป่าไม้เบญจพรรณ ต้นกระถินเทพา ต้นยูคาลิปตัส เถาวัลย์ขึ้นรกทึบ ให้โปร่ง สะอาด ตัดถนนภายนอกและภายในโรงเรียนโดยใช้ดินลูกรัง วงเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
๒. ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวมาตรฐาน ขนาดกว้าง ๗.๐๐ เมตร ยาว ๔๕.๐๐ เมตร โครงหลังคาเหล็ก มุงกระเบื้อง ๑ หลัง กั้นผนัง มีประตู หน้าต่าง พื้นคอนกรีต จานวน ๕ ห้องเรียน วงเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
๓. ก่อสร้างอาคารโรงอาหาร ขนาดกว้าง ๑๐.๐๐ เมตร ยาว ๒๐.๐๐ เมตร โครงหลังคาเหล็ก มุงกระเบื้อง ๑ หลัง พร้อมโต๊ะ เก้าอี้นั่งรับประทานอาหาร วงเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
๔. ก่อสร้างห้องน้ำ ห้องส้วม ขนาดกว้าง ๒.๔๐ เมตร ยาว ๗.๒๐ เมตร กั้นชาย ๒ ห้อง หญิง ๔ ห้อง ด้านหลัง
เป็นที่ปัสสาวะชาย โครงหลังคาเหล็ก มุงกระเบื้อง ๑ หลัง วงเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท
๕. โต๊ะ – เก้าอี้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา จากบริษัท ส.กิจชัย จากัด โดยนายสุน แสงวงศ์กิจ พร้อมครอบครัวเป็นเจ้าของกิจการ มีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลห้วยยาง ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ บริจาคโต๊ะ เก้าอี้นักเรียนมาตรฐานทำด้วยไม้ยางพาราสวยหรู จำนวน ๑๐๐ ชุด มูลค่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท
๖. ประสานบุคลากรจากโรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” อาสาเดินทางมาสอนที่สาขาโรงเรียนห้วยยางพิทยาคม
ตลอดปีการศึกษา ๒๕๓๕ ตามสาขาวิชาการต่างๆ ดังนี้
- ครูรัญจวน สุริยพรรณพงศ์ ภาษาอังกฤษ - ครูชาคร ลี้ไพโรจน์กุล วิทยาศาสตร์
- ครูมานพ สัตย์อุดม คณิตศาสตร์ - ครูสมประสงค์ เจริญรื่น ภาษาไทย
- ครูบุญมี บุญส่ง สังคมศึกษา - ครูสันติ มุกดาสนิท พลศึกษา
- ครูธวัช คุ้มหอม เกษตรกรรม - ครูเบ็ญจพร สัตย์อุดม งานบ้าน
- ครูสุพจน์ เบญจามฤต งานช่างในบ้าน - ครูพรศิลป์ สิทธิไชย กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๗. เปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๓๕ ได้จำนวน ๒ ห้องเรียน รวม ๙๖ คน
ในปีการศึกษาแรกนี้ผู้นำท้องที่ – ชุมชนทั้ง ๗ หมู่บ้านของตำบลห้วยยางและกลุ่มแม่บ้านหมู่ที่ ๔ ดำเนินการจัดเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ครูและนักเรียนฟรี ทุกคน ทุกวัน รวมมูลค่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท
เมื่อหลักเกณฑ์การจัดตั้งโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ครบถ้วนในปีการศึกษา ๒๕๓๕ ก่อนประกาศจัดตั้งชื่อโรงเรียนห้วยยางพิทยาคม ใกล้เคียงกับโรงเรียนที่เปิดก่อนแล้วคือ โรงเรียนห้วยยางวิทยาคม ตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ และโรงเรียนห้วยยางวิทยา ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเสนอขอใช้ชื่อโรงเรียนห้วยยางศึกษา อักษรย่อ “ห.ศ.” (โรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร”, ที่ รย ๐๒๒๗.๐๑/ ๖๔๙, ลว ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๕)
วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งโรงเรียนห้วยยางศึกษา ตำบลห้วยยาง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เพื่อขยายการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้แพร่หลายยิ่งขึ้น (ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งโรงเรียนรัฐบาล, ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖) จึงถือวันที่ตามประกาศของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน และกรมสามัญศึกษา อนุมัติงบประมาณปี ๒๕๓๖ ก่อสร้างอาคารเรียนแบบเบ็ดเสร็จ ก – ข – ค วงเงินค่าก่อสร้าง ๙,๘๓๔,๐๐๐ บาท ก่อสร้างห้องน้ำ ห้องส้วมชาย/หญิง ๒ หลัง วงเงินค่าก่อสร้าง ๓๖๐,๐๐๐ บาท ก่อสร้างบ้านพักครู ๑ หลัง วงเงินค่าก่อสร้าง ๔๔๓,๐๐๐ บาท ก่อสร้างบ้านพักนักการภารโรง วงเงินค่าก่อสร้าง ๑๒๐,๐๐๐ บาท (ทะเบียนพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้, โรงเรียนห้วยยางศึกษา) พร้อมจัดสรรครูและบุคลากรทางการศึกษา
การกีฬาแห่งประเทศไทย อนุมัติงบประมาณปี ๒๕๓๖ วงเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้จังหวัดระยอง สมัยนายกนก ยะสารวรรณ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง จัดสร้างสนามกีฬามาตรฐาน โดยใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ๗๑๐๗ จานวน ๒๕ ไร่ เขตติดต่อกับที่ดินที่มอบให้จัดตั้งสาขาโรงเรียนห้วยยางพิทยาคม ตามที่สภาตำบลห้วยยางเสนอขอและอนุญาตให้โรงเรียนห้วยยางศึกษา ใช้งานและดูแลรักษา
พระครูสุตพลวิจิตร (หลวงปู่คร่า ยโสธโร) วัดวังหว้า อาเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระมงคลศีลาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ (ราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๑๑๓, ,ตอนที่ ๑๐ ข, , ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙, , หน้า ๑๔) ถึงแก่มรณภาพ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๐ มีเมตตาจิตอนุเคราะห์ให้จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นที่ระลึกโรงเรียนห้วยยางศึกษา ปี ๒๕๓๖ โดยมีพระครูประโชติธรรมาภิรมย์ (สาย โชติธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดวังศิลาธรรมารามและพระครูเกษมอรรถากร (วิรัต อุปสนฺโต) เมื่อครั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดวังหว้า ช่วยประสานการดำเนินการเข้าพิธีปลุกเสกร่วมกับของวัดวังหว้าและให้ความอนุเคราะห์สถานที่วัดวังหว้าจัดให้ประชาชนเช่าบูชา
ได้เงินจานวน ๑,๗๙๓,๙๕๒ บาท เพื่อนำเงินมาพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน (วารสารยางไสว อนุสรณ์ ๕ ปี โรงเรียนห้วยยางศึกษา, หน้า ๒๒)
ปีการศึกษา ๒๕๓๗ โรงเรียนห้วยยางศึกษาร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนจัดทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษา จัดสร้างอาคารหอสมุด ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้น ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท ติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาด ๓๖,๐๐๐ BTU. BTU. จานวน ๑๐ เครื่อง (โดยคุณวิทิต ลาวัณย์เสถียร และทายาทตระกูล “ลาวัณย์เสถียร” เป็นผู้บริจาครวม ๓๕๐,๐๐๐ บาท) คณะกรรมการโรงเรียนจึงเห็นชอบให้ใช้ชื่อ “อาคารหอสมุดคุณแม่ไซ่งิ้น แซ่กอ” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่คุณแม่ของผู้บริจาครายใหญ่ดังกล่าว (วารสารยางไสว อนุสรณ์ ๕ ปี โรงเรียนห้วยยางศึกษา, หน้า ๒๑)
ปีการศึกษา ๒๕๓๘ กรมสามัญศึกษา อนุมัติให้โรงเรียนห้วยยางศึกษาเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๒ ห้องเรียน เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้สูงขึ้น
ผลงานดีเด่น
ปีการศึกษา ๒๕๓๕ จัดตั้งเป็นสาขาของโรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” ชื่อโรงเรียนห้วยยางพิทยาคม
ปีการศึกษา ๒๕๓๖ ประกาศจัดตั้งโรงเรียนห้วยยางศึกษา ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน สัญญา ๑ ปี
ปีการศึกษา ๒๕๓๗ ก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบ – รับมอบ
ปีการศึกษา ๒๕๓๘ (วารสารยางไสว อนุสรณ์ ๕ ปี โรงเรียนห้วยยางศึกษา, หน้า ๙)
๑. นางบุญช่วย บูรณะวังศิลา ได้รับรางวัล “คุรุสดุดี” ระดับประเทศ
๒. โรงเรียนห้วยยางศึกษา ชนะเลิศ “การจัดระบบสารสนเทศ” ระดับเขตการศึกษา ๑๒
๓. โรงเรียนห้วยยางศึกษา ชนะเลิศ “ห้องสมุดดีเด่น” ระดับเขตการศึกษา ๑๒
๔. นายสุพจน์ เบญจามฤต รับรางวัล “ผู้บริหารดีเด่น” จากสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย
๕. เด็กหญิงพัชรี คุ้มหอม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ได้รับ “รางวัลพระราชทาน ประเภทนักเรียน”เข้ารับพระราชทานรางวัล ณ พระตา หนักจิตรลดารโหฐาน สวนจิตรลดา กทม.
ปีการศึกษา ๒๕๓๙ (วารสารยางไสว อนุสรณ์ ๕ ปี โรงเรียนห้วยยางศึกษา, หน้า ๙)
๑. โรงเรียนห้วยยางศึกษา ชนะเลิศ “ห้องสมุดดีเด่น” ระดับเขตการศึกษา ๑๒
๒. โรงเรียนห้วยยางศึกษา ชนะเลิศ “ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติฯ ดีเด่น” ระดับเขตการศึกษา ๑๒
๓. โรงเรียนห้วยยางศึกษา รับรางวัล “พระราชทานประเภทสถานศึกษา” นายสุพจน์ เบญจามฤต อาจารย์ใหญ่ เข้ารับพระราชทานรางวัล ณ พระตาหนักจิตรลดารโหฐาน สวนจิตรลดา กทม.
.........................................................
|